เกี่ยวกับโครงการ

ระบบติดตามและรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศด้วยข้อมูลดาวเทียม (Air Quality Monitoring and Reporting System) ความเข้มข้นเชิงพื้นที่ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) หรือ AQMRS.com ได้ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อการรู้-รับ-ปรับตัวต่อภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเป็นการต่อยอดองค์ความรู้มาจากงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม*

ระบบ AQMRS.com เป็นระบบเว็บแอพพลิเคชั่นแผนที่ออนไลน์ (web GIS application) แสดงผลข้อมูลความเข้มข้นเชิงพื้นที่ของฝุ่น PM2.5 ด้วยข้อมูล Aerosol Optical Thickness: AOT จากระบบดาวเทียมแบบ Near Real-Time: NRT โดยเป็นการพัฒนาแบบจำลองในการประมาณค่าฝุ่น PM2.5 ด้วยอัลกอริทึมแบบ Machine Learning จากข้อมูล AOT ที่เรียนรู้ข้อมูลร่วมกับข้อมูลค่าฝุ่น PM2.5 ที่ตรวจวัดจากสถานีภาคพื้นดินของกรมควบคุมมลพิษ* ปัจจุบันระบบ AQMRS.com ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Himawari-9 ซึ่งมีวงโคจรแบบค้างฟ้า (geostationary orbit) ที่มีความสามารถในการตรวจหาละอองลอยในบรรยากาศ (aerosol product) ให้บริการข้อมูลในรูปแบบค่ารายชั่วโมง (L3ARP Hourly) และค่ารายวัน (L3ARP Daily) ความละเอียดเชิงพื้นที่ 5x5 กิโลเมตร/จุดภาพ ระบบสามารถแสดงผลร่วมกับข้อมูลแหล่งกำเนิดฝุ่นจากการเผาในที่โล่งด้วยข้อมูลจุดความร้อน (active fire hotspot) จากดาวเทียม Suomi-NPP ระบบ VIIRS และดาวเทียม TERRA-AQUA ระบบ MODIS ที่เชื่อมต่อมาจากระบบรายงานแบบอัตโนมัติของ GISTDA รวมถึงข้อมูลเชิงเคราะห์สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่เชื่อมโยงจากหลายแหล่งข้อมูล อันได้แก่ ข้อมูลภาพถ่ายสีจริงดาวเทียม Himawari-9 จาก ASMC ข้อมูลพยากรณ์อากาศจาก windy.com ข้อมูลฝุ่น PM2.5 ในสถานการณ์ปัจจุบันจาก Dustboy และการคาดการณ์จาก วช. ข้อมูลสภาพอากาศจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ และข้อมูลดัชนีอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา

ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นของระบบ AQMRS.com แสดงผลข้อมูลด้วยแผนที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถค้นหาพื้นที่ที่สนใจในประเทศไทยได้ในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด หรือทำการระบุตำแหน่งขณะที่กำลังใช้งานระบบอยู่ได้อย่างสะดวก โดยระบบสามารถเข้าถึงในการใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บเบราเซอร์ทั่วไปได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

*Charoenpanyanet, A. and Hemwan, P. (2019) Suitable Model for Estimation of PM2.5 Concentration Using Aerosol Optical Thickness (AOT) and Ground Based Station: Under the Dome in Upper Northern, Thailand. International Journal of Geoinfromatics 15(July-September). pp.33-43

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลดาวเทียม Himawari-9
- Earth Observation Research Center, JAXA Himawari Monitor, Japan
  The Himawari-9 AOT images used for the research and non-profit purposes only

ข้อมูลฝุ่นละอองที่ตรวจวัดจากระบบเซนเซอร์ Dustboy
- ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU CCDC)

ข้อมูลจุดความร้อน (Active Fire Hotspot) จากดาวเทียม Suomi NPP/VIIRS และ NOAA-20/VIIRS
- Fire Information for Resource Management System: FIRMS [https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov]
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): GISTDA [https://fire.gistda.or.th/download-v1.html]

สนับสนุนโดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ติดต่อเรา

โครงการ PM2.5 Resilience
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
https://www.facebook.com/PM2.5ResilienceCentre